วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 3
1. การจัดการศึกษา

การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีองค์ประกอบหลายประการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนาในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ การจัดการศึกษาจึงเป็นความจำเป็นที่ทุกประเทศต้องดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพประชากรและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันระหว่างประเทศ
ความหมายของการจัดการศึกษา
การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายชัดเจน คือการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม ค่านิยม ความคิด การประพฤติปฏิบัติฯลฯ โดยคาดหวังว่า คนที่มีคุณภาพนี้จะทำให้สังคมมีความมั่นคง สงบสุข เจริญก้าวหน้าทันโลก แข่งขันกันสังคมอื่นในเวทีระหว่างประเทศได้ คนในสังคมมีความสุข มีความสามารถประกอบอาชีพการงานอย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์
การจัดการศึกษามีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษาในสถานศึกษา นอกสถานศึกษา ตามอัธยาศัย ย่อมขึ้นกับความเหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกันไป
เนื่องจากการจัดการศึกษาเป็นกระบวนการที่เป็นระบบ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีบุคคลและหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้าร่วมดำเนินการ มีรูปแบบ ขั้นตอน กติกาและวิธีการดำเนินการ มีทรัพยากรต่างๆสนับสนุน และต้องมีกระบวนการประเมินผลการจัดการศึกษาที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ด้วย 
ทั้งนี้ผลผลิตของการจัดการศึกษาได้แก่ผู้ที่ได้รับการศึกษา ส่วนผลลัพธ์หรือผลสะท้อนสุดท้ายคือ การมีพลเมืองที่มีคุณภาพ และสังคมมีสภาพที่พึงประสงค์

2. การจัดการเรียนรู้
ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/422729

องค์ประกอบด้าน “การจัดการเรียนรู้” นับว่าเป็นองค์ประกอบหลักที่แสดงถึงการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ บทบาทของครู และบทบาทของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นสำคัญจะทำได้สำเร็จเมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ครู  และผู้เรียน มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับความหมายของการเรียนรู้  
      1. การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะบุคคล ทำแทนกันไม่ได้ ครูที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง
      2. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่ต้องมีการใช้กระบวนการคิด สร้างความเข้าใจ ความหมายของสิ่งต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
      3. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม เพราะในเรื่องเดียวกัน อาจคิดได้หลายแง่ หลายมุมทำให้เกิดการขยาย เติมเต็มข้อความรู้ ตรวจสอบความถูกต้องของการเรียนรู้ตามที่สังคมยอมรับด้วย ดังนั้นครูที่ปรารถนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ  
     4. การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เป็นความรู้สึกเบิกบาน เพราะหลุดพ้นจากความไม่รู้ นำไปสู่ความใฝ่รู้ อยากรู้อีก เพราะเป็นเรื่องน่าสนุก ครูจึงควรสร้างภาวะที่กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้หรือคับข้องใจบ้าง ผู้เรียนจะหาคำตอบเพื่อให้หลุดพ้นจากความข้องใจ และเกิดความสุขขึ้นจากการได้เรียนรู้ เมื่อพบคำตอบด้วยตนเอง
     5. การเรียนรู้เป็นงานต่อเนื่องตลอดชีวิต ขยายพรมแดนความรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด ครูจึงควรสร้างกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ไม่รู้จบ
     6. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลง เพราะได้รู้มากขึ้นทำให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ เป็นการพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับรู้ผลการพัฒนาของตัวเขาเองด้วย
      จากความหมายของการเรียนรู้ที่กล่าวมา ครูจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
(1) ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
(2) การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
(3) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
(4) การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
(5) ความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
(6) การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้
(7) การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
(8) การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
(9) การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
(10) การมีจุดมุ่งหมายของการสอน
(11) ความเข้าใจผู้เรียน
(12) ภูมิหลังของผู้เรียน
(13) การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
(14) การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร  (dynamic)  กล่าวคือ  มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในด้านการจัดกิจกรรม  การสร้างบรรยากาศ  รูปแบบเนื้อหาสาระ  เทคนิค  วิธีการ
(15) การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
                   (16) การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

3.E-Teacher (Electronic-Teacher)



ที่มา : http://www.ditals.com/lavorare-on-line-con-le-teaching/


       E-Teacher หมายถึง การใช้ Web-based Course ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นสื่อดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอน พร้อมทั้งประเมินผลการเรียนรู้ได้ทันที โดยเริ่มจากการศึกษาหาความรู้ในเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์  การถามตอบทางระบบกระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์  รวมทั้งทำแบบทดสอบพร้อมแสดงผลประเมินผลของเนื้อหาทันทีเมื่อทำแบบทดสอบเสร็จตามเวลาที่กำหนด ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยรามคำ
แหงได้จัดโครงการการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ชุดภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาอาชีพ โดยครูผู้สอนเป็นโปรแกรมบทเรียนทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่นๆที่ใช้บันทึกเนื้อหา และวิธีการเรียนการสอน เช่น เทปคาสเช็ค เทปวีดิโอ และแผ่นซีดีรอม เช่น โปรแกรมการเรียนการสอนในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากเทปวีดิโอ หรือแผ่นซีดีรอมโปรแกรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของ Follow me

ลักษณะของ e – teacher สรุปได้ 9 ประการ ดังนี้

ที่มา : http://www.hu.ac.th/academic/general_article/e-teacher.html


   1. Experience ครูควรสร้างสรรค์และเรียนรู้การใช้เครื่องมือ/เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Internet
   2. Extended ครูควรค้นหาความรู้ตลอดเวลา มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการค้นคว้า หาความรู้ด้วยเทคโนโลยี
   3. Expanded ครูควรขยายผลความรู้ เพื่อให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชนโดยรวม
   4. Exploration ครูควรค้นคว้าและเลือกเนื้อหาสาระ เอกสารหลักฐานอ้างอิง ที่ทันสมัย เพื่อให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์ในการนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
   5. Evaluation ครูควรเป็นนักประเมินที่ดี มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมินผล และให้ เหมาะสมกับรูปแบบการเรียน เพราะไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีจะใช้ได้กับการเรียนทุก รูปแบบ
   6. End – User ครูควรเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างหลากหลายและสามารถเป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี เช่น สามารถ Browse ไป Web Site ได้ 
   7. Enabler ครูควรสามารถนำเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ มาใช้ในการสร้างบทเรียน สื่อ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับผู้เรียนมากขึ้น
   8. Engagement เป็นลักษณะครูที่ให้ความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
   9. Efficient and Effective ครูมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นผู้ผลิต ผู้กระจาย และผู้ใช้ความรู้จาก e 8 ข้อข้างต้น 
      การปรับบทบาทและพัฒนาครูให้เป็น e – teacher อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง กับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และเป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ

ข้อสรุป
ข้อที่ข้าพเจ้ามีน้อยคือ
ข้อที่ 5. Evaluation  คือ ครูจะต้องเป็นนักประเมินที่ดี สามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล เช่น ในการถามและตอบปัญหาต่าง ๆ และประเมินว่าเทคโนโลยีอันไหนที่เหมาะกับการเรียนการสอนแบบไหน เพราะไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีใช้ได้กับการเรียนทุกรูปแบบ
แนวทางการแแก้ไข้ คือ จะต้องศึกษาการประเมินผล รูปแบบการประเมินผล เพื่อให้ทราบรูปแบบไหนเหมาะกับนักเรียนของเรา ซึ่งจะทำให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพ

ข้อที่ 8. Engagement คือ เป็นลักษณะครูที่ให้ความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
แนวทางการแก้ไข คือ ปรึกษาหาลือกับครูต่างโรงเรียนหรือในโรงเรียนเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น หาแนวร่วม เพื่อให้เกิดชุมชน เช่น การคุยกันบน web ทำให้มีความคิดใหม่ ๆ มีข้อเสนอแนะ เกิดชุมชนครูบน web

ข้อที่ 9. Efficient and Effective คือ ครูจะต้องมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นผู้ผลิต ผู้กระจาย และผู้ใช้ความรู้จาก e 8 ข้อข้างต้น 
แนวทางการแก้ไข คือ ครูต้องศึกษาความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สามารถสร้างสื่อขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน 


วิดีโอแนะนำตัว



ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาววิพาภรณ์  บุญก้อน  ชื่อเล่น  กระแต
เกิดวันที่ 6 พฤศจิกายน  2534  อายุ 23 ปี    

ที่อยู่ปัจจุบัน  เลขที่ 152 หมู่ ตำบลนางาม  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม
รหัสไปรษณีย์  48170  โทรศัพท์  084-7962052

สถานที่ทำงานปัจจุบัน   เลขที่ 40 หมู่ โรงเรียนบ้านดอนกกโพธิ์ค่ายเสรีวิทยา   อ.เรณูนคร  จังหวัดนครพนม  รหัสไปรษณีย์  48170

ประวัติการศึกษา  ระดับปริญญาตรี  วิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ปัจจุบันกำลังศึกษา  ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู  ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 2 นวัตกรรมการศึกษา (EINNOVATION EDUCATION) 

นวัตกรรม (Innovation)  หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

การศึกษา (Educational) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปความคิด การกระทำ หรือทฤษฏีทางการศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา 
   1.1 นวัตกรรมด้านหลักสูตร เช่น การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum) การจัดหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ (Function Literacy) การจัดหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามลำดับขั้นจนบรรลุเป้าหมาย (Mastery Learning Curriculum) หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (Individualized Curriculum) และหลักสูตร กิจกรรมหรือประสบการณ์ (Activity or Experience Curriculum)
   1.2 นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบโมดุล (Module Teaching) การสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching) การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์(Group Process Teaching) การสอนซ่อมเสริม (Remidial Teaching) การสอนโดยเพื่อน สอนเพื่อน (Peers Teaching) การสอนแบบพี่สอนน้อง(Monitoring) และการปรับ พฤติกรรม (Behavioral Modification) การสอนเป็นรายบุคคล(Individualized Instruction) การเรียนแบบรู้รอบ(Mastery Learning)  การเรียนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)การสอนแบบบูรณาการ(Integrative Techniques) การสอน แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)การสอนแบบโครงการ อาร์ ไอ ที(Reduced Instructional Time) การสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอน (Instructional Package) การสร้างบทเรียนให้เรียนด้วยตนเอง (Personalized System Instruction) การสอนโดยให้ทางบ้านดูแลการฝึกปฏิบัติ (Home Training) ชุดการสอนย่อย (Minicourse)
   1.3 นวัตกรรมด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น การใช้บทเรียน สำเร็จรูป (Programed Instruction) การใช้เครื่องช่วยสอน(Teaching Machine) การใช้วิทยุและโทรทัศน์ช่วยสอน (Teaching By Radio and TV) การใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน(Computer-Assisted Instruction) ชุดการสอน (Learning Packages) และวิดีโอ ปฏิสัมพันธ์ (Interactive Video)
   1.4 นวัตกรรมด้านการวัดและประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่มและแบบ อิงเกณฑ์ (Formative and Summative Evaluation) การประเมินผลเพื่อแก้ข้อ บกพร่อง (Diagnostic Evaluation)การเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ (Automatic Promotion) การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-test)
   1.5 นวัตกรรมด้านการบริหารและบริการ เช่น การจัดการศึกษาแบบเปิด (Open University) การจัดการศึกษาตามแนวมนุษยนิยม (Humanistic Education) การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) การจัดการศึกษานอกโรงเรียน (Non-Formal Education) การจัดโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก(Summer Hill School) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School) การจัดโรงเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) การเกณฑ์เด็กสองกลุ่มอายุ



ปิรมิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid)


1.การเรียนในห้องเรียน (Lecture) นั่งฟังบรรยาย จะจำได้ 5%
2.การอ่านด้วยตัวเอง (Reading) จะจำได้เพิ่มขึ้นเป็น 10%
3.การฟังและได้เห็น (Audiovisual) เช่น การดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ จำได้ 20%
4.การได้เห็นตัวอย่าง (Demonstration) จะช่วยให้จำได้ 30%
5.การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (Discussion) เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม จะช่วยให้จำได้ถึง 50%
6.การได้ทดลองปฏิบัติเอง (Practice doing) จะจำได้ถึง 75%
7.การได้สอนผู้อื่น (Teaching) เช่น การติว หรือการสอน จะช่วยให้จำได้ถึง 90%

กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)

ขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท ดังนี้
  1. ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งเกิดจากการได้ปฏิบัติกิจกรรมและได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง
  2. ประสบการณ์รอง เป็นประสบการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด เนื่องจากประสบการณ์ตรงบางอย่างนั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง อาจเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้ อาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้ จึงจำเป็นต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มี ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงมากที่สุด เพื่อความสะดวกปลอดภัยและง่ายต่อความเข้าใจ เช่น สถานการณ์จำลอง หุ่นจำลอง เป็นต้น
  3. ประสบการณ์นาฏการ เป็นการจำลองสถานการณ์อย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความเหมือนหรือใกล้เคียงกับประสบการณ์จริง เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนด้วยเหตุที่มี ข้อจำกัดต่างๆ ได้แก่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต สถานที่ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งไม่สามารถจัดเป็นประสบการณ์รองได้ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น
  4. การสาธิต เป็นการกระทำหรือแสดงให้ดูเป็นแบบอย่างประกอบการอธิบายหรือบรรยาย
  5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนในสภาพความเป็นจริง
  6. นิทรรศการ เป็นการนำประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้หลาย ๆ ด้าน มาจัดแสดงผสมผสานร่วมกัน
  7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ แต่โทรทัศน์ มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนตร์ เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะนั้นมาให้ชมได้ในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า “การถ่ายทอดสด” ในขณะที่ภาพยนตร์เป็น การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึงจะนำมาฉายให้ชมได้
  8. การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง เป็นประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาหรือทางหู เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
  9. ทัศนสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา
  10.วจนสัญลักษณ์  เป็นสัญลักณ์ทางภาษา

การจากกรวยประสบการณ์นี้ สารารถจำแนกสื่อเป็น 3 ประเภท คือ
      1. สื่อประเภทวัสดุ หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองจำแนกย่อยได้ 2 ลักษณะ
          1.1วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นใช้อุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผนที่ ลูกโลก รูปภาพ
          1.2วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น แผ่นซีดี ฟิล์มภาพยนตร์ สไลด์
     2. สื่อประเภทอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน
     3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเป็นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน

ทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom (Bloom’s Taxonomy)


1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่
         1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆ และระลึกเรื่องราวนั้นๆ ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
         1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
         1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
         1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้อย่างชัดเจน
         1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน
โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
         1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป  การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้ 
2. จิตพิสัย (Affective Domain) (พฤติกรรมด้านจิตใจ)
     ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
     1.การรับรู้
     2.การตอบสนอง
     3.การเกิดค่านิยม
     4.การจัดระบบ
     5.บุคลิกภาพ
3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
     พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
     1.การรับรู้
     2.กระทำตามแบบ
     3.การหาความถูกต้อง
     4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ
     5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ


 การสื่อสารกับการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ



2. การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน


ข้อสรุป
นวัตกรรมการศึกษา คือ นวัตกรรมที่ช่วยในการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้นแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้มาให้แก้ปัญหา และเกิดสติปัญญา สามารถวิเคราะห์ แยกแยะ หรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
นวัตกรรมการศึกษา ประกอบไปด้วย
    1.หลักสูตร 
       -หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
       -หลักสูตรสถานศึกษา
       -หลักสูตรผู้เรียนเป็นรายคน  
       -หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
       -หลักสูตรท้องถิ่น
    2.การเรียนการ         
       -การสอนแบบศูนย์การเรียน
       -การสอนแบบกลุ่ม
       -การสอนโดยใส่ใจความรู้สึกของผู้เรียนเป็นสำคัญ ว่าเขาเรียนกับเราแล้วมีความสุขหรือไหม
       -การสอนโดยให้จับคู่ช่วยเหลือกันหรือเพื่อนช่วยเพื่อน
       -การสอนแบบศูนย์การเรียน
       -การสอนแบบบูรณาการ
    3.สื่อและเทคโนโลยีทางการ
       -การใช้บทเรียน สำเร็จรูป
       -การใช้เครื่องช่วยสอน
       -การใช้วิทยุและโทรทัศน์ช่วย
       -การใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน
       -ชุดการสอน
       -วิดีโอ ปฏิสัมพันธ์
       -ใบความรู้หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลประเมินผล
    4.การวัดและประเมินผล
       -การวัดผลแบบอิงกลุ่มและแบบอิงเกณฑ์
       -การประเมินผลเพื่อแก้ข้อบกพร่อง
       -การเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ
       -การประเมินผลก่อนเรียน
    5.การบริหารและบริการ 
       -การจัดการศึกษาแบบเปิด
       -การจัดการศึกษาตามแนวมนุษยนิยม 
       -การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น
       -การจัดการศึกษานอก
       -การจัดโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก
       -การจัดโรงเรียนใน
       -การจัดโรงเรียนแบบไม่แบ่ง
       -การเกณฑ์เด็กสองกลุ่มอายุ

ปิรมิดแห่งการเรียนรู้ (Learning Pyramid)
     1. การเรียนในห้องเรียน (Lecture) นั่งฟังบรรยาย บันทึกตาม จะจำได้เพียง 5%
     2. การอ่านด้วยตัวเอง (Reading) ทำให้จำได้เพิ่มขึ้น 10%
     3. การฟังและได้เห็น (Audiovisual) เช่น การดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ จำได้ 20%
     4. การได้เห็นตัวอย่าง (Demonstration) ช่วยให้จำได้ 30%
     5. การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (Discussion) เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม ช่วยให้จำได้ถึง 50%
     6. การได้ทดลองปฏิบัติเอง (Practice doing) จำได้ถึง 75%
     7. การได้สอนผู้อื่น (Teaching) เช่น การติว หรือการสอน จะช่วยให้จำได้ถึง 90%

กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
    1.ประสบการณ์ตรง ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง และสถานที่จริง
    2. ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนรู้จากสิ่งใกล้เคียงกับความจริงที่สุด เช่น การแสดงละครวันสุนทรภู่
    3.ประสบการณ์การแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร
    4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย
    5. การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน เช่น ไปดูงาน
    6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ เช่น การจัดแสดงนิทัศการ  
    7.โทรทัศน์และภาพยนตร์ การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์
    8. เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม
    9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน
    10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
    11. วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด 

ทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom (Bloom’s Taxonomy)
    ผู้เรียนทุกคนต้องมีพื้นฐานในการเรียนรู้ แต่อาจจะไม่เท่ากันเพราะคนเรามีพื้นฐานการเรียนรู้ที่ต่างกัน  บางคนพบเจอสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นก็จะมีความรู้ความเข้าใจที่ต่างจากคนอื่น  แต่ถ้าผู้เรียนมีพื้นฐานในการเรียนรู้คล้าย ๆ กัน มีความรู้ ความเข้าใจ มีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์คล้ายๆ กัน  ผลการเรียนรู้ของคนกลุ่มนี้ก็จะคล้ายกันด้วย
    การที่ผู้เรียนจะเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นผู้เรียนต้องมีความกระตือรือร้นในการเรียนตลอดเวลา  ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่จะเรียนรู้  เมื่อมีความเข้าใจแล้วต้องวิเคราะห์ให้ได้ก่อนจากนั้นถึงจะประเมินค่า จากทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom กล่าวว่ามนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ  ทั้งสามด้านนี้ต้องดำเนินไปอย่างพร้อม ๆกัน  จึงจะเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสื่อสารกับการเรียนการสอน
    พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน  ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่าเนื้อหาของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ เหล่านี้ มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน



วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 1 ความหมายของคำว่า TEACHERS หรือ ครู


ครู คือ ผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด ภารกิจที่ครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ เช่น ปลูกฝังให้ศิษย์จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ปลูกฝังให้ศิษย์ยึดมั่นในประชาธิปไตย  ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์  ปลูกฝังให้ศิษย์เข้าใจสิทธิและหน้าที่  ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น  ปลูกฝังให้ศิษย์บำเพ็ญตนเป็นพลเมืองที่ดี  ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพกฎระเบียบของสังคม  ปลูกฝังให้ศิษย์มีน้ำใจนักกีฬา และปลูกฝังให้ศิษย์รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม คำว่า TEACHERS หรือ ครู สามารถบ่งบอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของครูที่ดีได้เป็นอย่างดี ดังนี้

T = Teaching   
        หมายถึง ครูทำหน้าที่สอนและถ่ายทอดความรู้

E = Ethic         
       หมายถึง ครูเป็นผู้มีคุณธรรม มีเมตตาธรรมประจำใจ

A = Academic 
       หมายถึง ครูที่เป็นนักวิชาการที่มีความรอบรู้และใฝ่หาความรู้อยู่เป็นนิจ

C = Cultural Heritage   
       หมายถึง ครูเป็นผู้รู้คุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ   และทำหน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าวไปสู่คนรุ่นหลัง

H = Human Relationship   
       หมายถึง ครูเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเป็นผู้มีสุขภาพที่ดี

E = Evaluation   
       หมายถึง ครูคือผู้รู้และเข้าใจเรื่องการวัดและประเมินผลเป็นอย่างดี เพราะการวัดและประเมินผลนั้น ครูต้องใช้อยู่ตลอดเวลาในกระบวนการเรียนการสอน

R = Research
       หมายถึง ครูคือผู้ค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ และสามารถนำผลวิจัยที่ผู้อื่นทำไว้แล้วไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

S = Service 
       หมายถึง ครูคือผู้ให้บริการด้านอื่นนอกเหนือจากการสอน เช่น บริการแนะแนว บริการด้านสวัสดิการในโรงเรียน รวมถึงการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนอีกด้วย


ที่มาบทความ : หนังสือสารัตถะจิตวิทยาการศึกษา รศ.ดร.ประสาท อิศรปรีดา 

ข้อสรุป
ครู เป็นบุคคลที่มีหน้าที่หลักในด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดองค์ความรู้ต่างในด้านต่าง ๆ ครูต้องมีเทคนิคในการสอน มีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน รู้จักสร้างความบันเทิงในขณะที่สอน มีความกระตือรือร้นในการสอนอยู่เสมอ จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น มีความเอื้ออาทรต่อผู้เรียน ต้องประพฤติตนอยู่ในจรรยาบรรณวิชาชีพครู และต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองเสมอ