สัปดาห์ที่ 1 ความหมายของคำว่า TEACHERS หรือ ครู
ครู คือ ผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด
ภารกิจที่ครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ เช่น
ปลูกฝังให้ศิษย์จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ปลูกฝังให้ศิษย์ยึดมั่นในประชาธิปไตย ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์ ปลูกฝังให้ศิษย์เข้าใจสิทธิและหน้าที่ ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น ปลูกฝังให้ศิษย์บำเพ็ญตนเป็นพลเมืองที่ดี ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพกฎระเบียบของสังคม ปลูกฝังให้ศิษย์มีน้ำใจนักกีฬา
และปลูกฝังให้ศิษย์รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม คำว่า TEACHERS หรือ ครู สามารถบ่งบอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของครูที่ดีได้เป็นอย่างดี
ดังนี้
T = Teaching
หมายถึง ครูทำหน้าที่สอนและถ่ายทอดความรู้
หมายถึง ครูทำหน้าที่สอนและถ่ายทอดความรู้
E = Ethic
หมายถึง ครูเป็นผู้มีคุณธรรม มีเมตตาธรรมประจำใจ
A = Academic
หมายถึง
ครูที่เป็นนักวิชาการที่มีความรอบรู้และใฝ่หาความรู้อยู่เป็นนิจ
C = Cultural Heritage
หมายถึง ครูเป็นผู้รู้คุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณี
และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ
และทำหน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าวไปสู่คนรุ่นหลัง
H = Human Relationship
หมายถึง ครูเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
และเป็นผู้มีสุขภาพที่ดี
E = Evaluation
หมายถึง
ครูคือผู้รู้และเข้าใจเรื่องการวัดและประเมินผลเป็นอย่างดี
เพราะการวัดและประเมินผลนั้น ครูต้องใช้อยู่ตลอดเวลาในกระบวนการเรียนการสอน
R = Research
หมายถึง ครูคือผู้ค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ
และสามารถนำผลวิจัยที่ผู้อื่นทำไว้แล้วไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
S = Service
หมายถึง ครูคือผู้ให้บริการด้านอื่นนอกเหนือจากการสอน เช่น
บริการแนะแนว บริการด้านสวัสดิการในโรงเรียน
รวมถึงการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนอีกด้วย
ที่มาบทความ : หนังสือสารัตถะจิตวิทยาการศึกษา รศ.ดร.ประสาท อิศรปรีดา
ข้อสรุป
ครู
เป็นบุคคลที่มีหน้าที่หลักในด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดองค์ความรู้ต่างในด้านต่าง
ๆ ครูต้องมีเทคนิคในการสอน มีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ
อยู่เสมอซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน รู้จักสร้างความบันเทิงในขณะที่สอน มีความกระตือรือร้นในการสอนอยู่เสมอ
จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็น
มีความเอื้ออาทรต่อผู้เรียน ต้องประพฤติตนอยู่ในจรรยาบรรณวิชาชีพครู
และต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น