สัปดาห์ที่
9
การจัดการเรียนรู้ด้วยบันได
5 ขั้น
ในกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลตามที่คาดหวังนั้น
มีมากมายหลายวิธี กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ ที่ครูสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทและธรรมชาติของวิชา
โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
บันได
5
ขั้น (5L) สู่การพัฒนาผู้เรียน ได้แก่
ขั้น L1 การตั้งประเด็นคำถาม/สมมติฐาน (Learning to Question) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด สังเกต ตั้งข้อสงสัย
ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์
ขั้น L2
การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ (Learning
to Search) เป็นการฝึกแสวงหาความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย
เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต หรือจากการปฏิบัติทดลอง เป็นต้น
ขั้น L3 การสรุปองค์ความรู้ (Learning
to Construct) เป็นการฝึกนำความรู้และสารสนเทศหรือข้อมูลที่ได้จากการอภิปราย
การทดลอง มาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเป็นองค์ความรู้
ขั้น L4 การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Learning
to Communicate) เป็นการฝึกให้ความรู้
ที่ได้มานำเสนอและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดความเข้าใจ
ขั้น L5 การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Learning to Serve) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ
ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีความรู้ในบริบทรอบตัวและบริบทโลกตามวุฒิภาวะที่เหมาะสม
โดยจะนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์
ที่มา : http://sinjai2534.blogspot.com/
การประยุกต์การสอนสู่
IS
IS 1 การศึกษาค้นคว้า
และสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) มุ่งให้ผู้เรียนตั้งประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน
ฝึกทักษะการศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
การคิดวิเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้ เป็นบันไดขั้นที่ 1 การตั้งประเด็นปัญหา และสมมุติฐาน (Hypothesis Formulation) ขั้นที่ 2
การแสวงหาเพื่อสืบค้นสารสนเทศ (Searching for
Information) ขั้นที่ 3 การสรุปองค์ความรู้ (Knowledge
Formation)
IS 2 การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาพัฒนาวิธีการถ่ายทอด
สื่อสารความหมาย แนวคิด ข้อมูล และองค์ความรู้ด้วยวิธีการนำเสนอที่เมาะสม
หลากหลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพ เป็นบันไดขั้นที่ 4 การสื่อสาร
และการนำเสนอ (Effective Communication)
IS 3 การนำองค์ความรู้ไปบริการสังคม (Social Service Activity) มุ่งให้ผู้เรียนนำ และประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ เป็นบันไดขั้นที่ 5 การบริการสังคม และจิตสาธารณะ (Public Service)
ที่มา : http://sinjai2534.blogspot.com/
ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน
ได้แก่
-ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
-การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
-การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย
ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย
โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
-ความรู้ด้านสารสนเทศ
-ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
-ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ
นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
-ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
-การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
-ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
-การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต
(Productivity)
และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
-ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
(Responsibility)
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้
โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ
ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 (Partnership For 21st Century
Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน
ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน
เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต
กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21
กรอบแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่
21
ที่แสดงผลลัพธ์ของนักเรียนและปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับศตวรรษที่
21
จากภาพเป็นกรอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์สำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นที่ยอมรับในการสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Model of 21st Century Outcomes and
Support Systems) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน
(Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (Core Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้าน
รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่มาตรฐานและการประเมิน
หลักสูตรและการเยนการสอน การพัฒนาครู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้
“ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง
โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก
(Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based
Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ
ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง
การจัดการศึกษาในอนาคต
1.ผู้เรียนเป็นผู้จัดการเรื่องการเรียนรู้ของตนเอง
2.การเรียนรู้จะใช้ระบบเครือข่าย
3.หลักสูตรจะถูกจัดแยกเป็นประเภท
4.มีแผนการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
5.การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทมาก
6.ครูมีบทบาทในฐานะเป็น C&M
(Coaching & Mentoring)
7.ระบบการประเมินมีความหลากหลายมากขึ้น
บทบาทของครูในศตวรรษที่
21
ครูที่มีใจแกศิษย์ยังไม่เพียงพอ
ครูเพื่อศิษย์ต้อง เปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นการการสอนไป เน้นที่การเรียน (ทั้งของศิษย์และของตนเอง)
ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย
ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก “ครูสอน” (teacher) ไปเป็น “ครูฝึก”
(coach) หรือ “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้” (learning
facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการทำหน้าที่นี้
โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เรียกว่า PLC (Professional Learning Community)
ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นโค้ช และเป็น "คุณอำนวย" (facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project-Based Learning) ของศิษย์ ครูต้องเลิกเป็น "ผู้สอน" ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ "คุณอำนวย" ในการเรียนของศิษย์ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL
สรุป
ในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน
รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ส่งเริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ
คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติ และส่งเสริมให้ผู้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ครูมีการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล คณะกรรมการสถานศึกษา
และผู้ปกครอง ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร
กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน
โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องเลิกเน้นการสอน หันมาเน้นการเรียน ซึ่งต้องเน้นทั้งการเรียนของผู้เรียนและของครู เป็นเรื่องยากพอสมควรในการปรับตัวของครู ครูจึงควรนำกระบวนการเรียนรู้แบบ
PLC (Professional Learning Community) คือ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการ ความรู้เพื่อยกระดับ PBLให้ตอบสนองต่อทักษะอนาคต
การพบปะแลกเปลี่ยน PBL กันอย่างต่ อเนื่อง โดย PLC ลักษณะเด่น คือ
1. ครูเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ 2. ครูและนักเรียนเรียนรู้ไปด้วยกั น 3. ครูและครูเรียนรู้ไปด้วยกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น