การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน
เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้
ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล
ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย
แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ
ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1. ความสามารถในการอธิบาย
ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้ และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้ และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2. ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน
และตรงประเด็น
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
ครูผู้สอน: WHERE: การออกแบบการเรียนรู้
W => Where
are we heading?
หมายถึง เป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางไหน
H =>
Hook the student through provocative entry points
หมายถึง ออกแบบการเรียนรู้ให้น่าสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจ
E =>
Explore and Enable
หมายถึง การคัดเลือกเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นแนวคิด
ทฤษฎีและการนำไปใช้
R =>
Reflection and Rethink
หมายถึง การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และการสังเคราะห์ข้อสรุปจากเนื้อหาสาระ
E =>
Exhibit and Evaluate
หมายถึง การประเมินผลที่มีเป้าหมายชัดเจน
เน้นสภาพความเป็นจริง
ครูผู้สอน: มิติการคิด: นักประเมินผลและนักออกแบกิจกรรม
การคิดอย่างนักประเมินผล
|
การคิดอย่างนักออกแบกิจกรรม
|
อะไรคือหลักฐานการเรียนรู้ที่เพียงพอและชัดเจน
|
กิจกรรมอะไรทำให้ผู้เรียนเข้าใจและติดตาม
|
อะไรคือจุดเน้นของการเรียนการสอน
|
จะใช้สื่ออุปกรณ์ชนิดใดสำหรับหัวข้อนี้
|
อะไรคือจุดจำแนกผู้เรียนที่รู้และไม่รู้
|
จะกำหนดกิจกรรมและโครงการอย่างไร
|
อะไรคือเกณฑ์ในการตัดสินงาน
|
จะให้คะแนนและชี้แจงประเมินผลอย่างไร
|
จะตรวจสอบความเข้าใจผิดของผู้เรียนได้อย่างไร
|
กิจกรรมที่ไม่ได้ผล
เป็นเพราะอะไร
|
การออกแบบบการสอนแบบ PDCA
ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan -P)
หมายถึง
การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การจัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน
กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้
การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดำเนินงาน
การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต
และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Do - D)
หมายถึง
การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ การดำเนินการ (เช่น
คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ) มีวิธีการ ดำเนินการ (เช่น
มีการประชุมของคณะกรรมการมีการจัดการเรียน การสอน
มีการแสดงความจำนงขอรับนักศึกษาไปยังทบวงมหาวิทยาลัย) และมีผลของการดำเนินการ
(เช่น รายชื่อนักศึกษาที่รับในแต่ละปี)
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check - C)
หมายถึง
การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ
การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ
การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง
โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง
โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน
หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน
ขั้นที่ 4 การพัฒนา / ปรับปรุงแก้ไข ( Action - A)
หมายถึง
การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ
ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร
ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบ
การดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการ ในปีต่อไป
การออกแบบการสอนแบบ PLC
ที่มา : http://www.freepik.com
ความหมายของ PLC (Professional Learning Community)
P คือคำว่า Professional หรือเกี่ยวกับเรื่องงาน
เรื่องอาชีพ เรื่องปฏิบัติ นั่นคือเรื่องที่เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ครูหรือเรื่องเด็ก
L คือคำว่า Learning คือมีการแลกเปลี่ยนแล้วเกิดการเ รียนรู้ และ
C คือคำว่า Community คือมีชุมชนนักปฏิบัติ
ร่วมมือพบปะนัดคุย
ขั้นตอนของ PLC
ขั้นที่ 1 เริ่มต้นด้วยขั้นตอนง่าย ๆ (Take a baby steps) โดยเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย
อภิปราย สะท้อนผล แลกเปลี่ยนกับคนอื่น ๆ เพื่อกำหนดว่า จะดำเนินการอย่างไร
โดยพิจารณาและสะท้อนผลในประเด็นต่อไปนี้
1.1 หลักการอะไรที่จะสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติ
1.2 เราจะเริ่มต้นความรู้ใหม่อย่างไร
1.3 การออกแบบอะไรที่พวกเราควรใช้ในการตรวจสอบหลักฐานของการเรียนรู้ที่สำคัญ
1.3 การออกแบบอะไรที่พวกเราควรใช้ในการตรวจสอบหลักฐานของการเรียนรู้ที่สำคัญ
ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนด้วยความร่วมมือ (Plan Cooperatively) สมาชิกของกลุ่มกำหนดสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดความคาดหวังในระดับสูง (Set high expectations) และวิเคราะห์การสอนสืบเสาะหาวิธีการที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จสูงสุด
3.1 ทดสอบข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการสอนหลังจากได้มีการจัดเตรียมต้นแบบที่เป็นการวางแผนระยะยาว
(Long-term)
3.2 จัดให้มีช่วงเวลาของการชี้แนะ โดยเน้นการนำไปใช้ในชั้นเรียน
3.3 ให้เวลาสำหรับครูที่มีความยุ่งยากในการสังเกตการณ์ปฏิบัติในชั้นเรียนของครูที่สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างประสบผลสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 4 เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ (Start small) เริ่มต้นจากการใช้กลุ่มเล็กๆ
ก่อน แล้วค่อยปรับขยาย
ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาและใช้ข้อมูล (Study and use the data) ตรวจสอบผลการนำไปใช้และการสะท้อนผลเพื่อนำมากำหนดว่า
แผนไหน ควรใช้ต่อไป/แผนไหนควรปรับปรุงหรือยกเลิก
ขั้นตอนที่ 6 วางแผนเพื่อความสำเร็จ (Plan for success) เรียนรู้จากอดีต
ปรับปรุงหรือปฏิเสธในสิ่งที่ไม่สำเร็จ และทำต่อไป ความสำเร็จในอนาคต
หรือความล้มเหลวขึ้นอยู่กับเจตคติและพฤติกรรมของครู
ขั้นตอนที่ 7 นำสู่สาธารณะ (Go public) แผนไหนที่สำเร็จก็จะมีการเชิญชวนให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ยกย่องและแลกเปลี่ยนความสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 8 ฝึกฝนร่างกายและหล่อเลี้ยงสมอง (Exercise the body &
nourish the brain) จัดกิจกรรมที่ได้มีการเคลื่อนไหวและ
เตรียมครูที่ทำงานสำเร็จของแต่ละกลุ่มโดยมีการจัดอาหาร เครื่องดื่มที่มีประโยชน์
สรุป
PLC มีพัฒนาการมาจากกลยุทธ์ระดับองค์กรที่มุ่งเน้นให้องค์กรมีการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเริ่มพัฒนาจากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับประยุกต์ให้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันในทางวิชาชีพ
ที่มีหน้างานสำคัญคือความรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกันเป็นสำคัญจากการศึกษาหลายโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาดำเนินการในรูปแบบ
PLC พบว่าเกิดผลดีทางวิชาชีพครู
และผู้เรียนที่มุ่งพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ
การออกแบบการสอนแบบ ISD
การออกแบบการสอน ISD (Instructional System Design หรือ ID : Instructional
Design) หมายถึง การจัดระบบการสอนอย่างมีระบบ
โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ซึ่งรวบรวมองค์ประกอบและปัจจัยต่าง ๆ
เพื่อนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจออกแบบระบบ
แล้วจึงทำการทดลองและปรับปรุงแก้ไขจนใช้ได้ผล
เป็นการนำไปสู่ความสำเร็จของการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
กระบวนการออกแบบระบบการสอน จะประกอบไปด้วยหลักพื้นฐาน 4 ส่วน ดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ เป็นส่วนที่กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของผู้เรียน
2. ผู้เรียน โดยพิจารณาคุณสมบัติของผู้เรียน
เพื่อการออกแบบระบบการสอนให้เหมาะสม
3. วิธีการและกิจกรรม กำหนดวิธีการและกำหนดกิจกรรมในกระบวนการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การวัดและประเมินผล เป็นการกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์
สรุป
Instructional System Design (ISD) ใช้ในออกแบบการเรียนการสอนโดยการกำหนดรูปแบบการสอนและประเมินผล
เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้จริงและเกิดทักษะได้อย่างมีประสิทธิผล
คความหมายของแหล่งเรียนรู้
2. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้ (Wisdom)
แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากการได้คิดเองปฏิบัติเอง และสร้างความรู้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัยและต่อเนื่อง จนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และสุดท้ายก็จะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
1. เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
มีแหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ วิทยาการ และสร้างเสริมประสบการณ์ ที่กว้างขวางหลากหลาย
2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. เพื่อจัดระบบและพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ และแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. เพื่อจัดระบบและพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ และแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : http://tanachat421.blogspot.com/
ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้
1. แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
2. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
5. แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์
2. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
5. แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์
ประเภทของแหล่งเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ จำแนกตามลักษณะที่ตั้งได้ ดังนี้
1. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
2. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้สามารถแบ่งตามแหล่งเรียนรู้ที่อยู่รอบตัวผู้เรียน
ดังนี้
1. เทคโนโลยี
ได้แก่
1.1 คอมพิวเตอร์
1.2 อีเมล์ (e-mail)
1.3 อินเทอร์เน็ต
2. สิ่งแวดล้อม ได้แก่
2.1 แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ
ลำคลอง ห้วย หนอง บึง
วนอุทยาน
2.2 ภูเขา เช่น ถ้ำ หินงอก หินย้อย
2.3 สวนพฤกษศาสตร์ เช่น สวนสมุนไพร
สวนป่าธรรมชาติ สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน สวนสาธารณะ
2.4 เขื่อน
3. สถานที่ ได้แก่
3.1 สถานที่สำคัญทางศาสนา เช่น วัด
โบสถ์ มัสยิด สุเหร่า
3.2 ปูชณียสถาน โบราณสถาน
3.3 โรงเรียน
3.4 โรงพยาบาล
3.5 ไปรษณีย์
3.6 สถานีตำรวจ
3.7 พิพิธภัณฑ์
3.8 ห้องสมุด เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดในชุมชน
4. สื่อสารมวลชน ได้แก่
4.1 หนังสือพิมพ์
4.2 โทรทัศน์
4.3 ETV
4.4 วิทยุ
4.5 สารสนเทศ
5. บุคลากร ได้แก่
5.1 เพื่อน เช่น เพื่อนในห้องเรียน
เพื่อนในชุมชน
5.2 ครู เช่น ครูใหญ่ ผู้อำนวยการ ครูวิชาต่าง ๆ
5.3 ผู้นำชุมชน เช่น ผู้นำศาสนา
5.4 แพทย์
5.5 องค์การบริหารส่วนตำบล
(อบต.)
5.6 ตำรวจ
5.7 ภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น ดนตรี ก่อสร้าง ยารักษาโรค
การนวดแผนโบราณ
การใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนเขียนชื่อพันธุ์ไม้
หาคำแปล แต่งคำประพันธ์หาคำประพันธ์ที่ปรากฏชื่อพันธุ์ไม้นั้น ๆ มาฝึกอ่านออกเสียง
อ่านในใจ อ่านทำนองเสนาะ ฝึกเขียน ตามคำบอก เขียนเรียงความ คัดลายมือ ฝึกพูดบรรยาย
ลักษณะของพันธุ์ไม้ ฝึกโต้วาทีในญัตติ เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ ฯลฯ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ให้ผู้เรียนฝึกนับจำนวน
คำนวณจำนวน ประมาณการจำนวนผลผลิตของพันธุ์ไม้ ฝึกการวัดและ
การคาดคะเนขนาดและความสูงของพันธุ์ไม้ ฝึกหาตำแหน่ง ระยะทาง ทิศทาง ขนาด พื้นที่
รูปร่างของพันธุ์ไม้ เขียนแผนผัง แผนที่ แสดงที่ตั้งของพันธุ์ไม้
ฝึกคำนวณรายได้ที่เกิด จากผลิตผลของพันธุ์ไม้ในแต่ละปี
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า
เกี่ยวกับค่านิยม ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับพันธุ์ไม้
ศึกษาภูมิปัญญาที่เกิดจากพันธุ์ไม้ ฝึกเขียนรายงานจากการสำรวจ
สภาพทางกายภาพของพันธุ์ไม้ ศึกษากฎหมายทีเกี่ยวข้องกับพันธุ์ไม้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ศึกษาสรรพคุณทางยาของพันธุ์ไม้
การผลิตยาชงสมุนไพรจากผลิตผล ของพันธุ์ไม้ รายชื่ออุปกรณ์กีฬาที่ทำจากพันธุ์ไม้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ฝึกวาดภาพระบายสีพันธุ์ไม้
เรียนรู้ชนิดและลักษณะของเครื่องดนตรีที่ทำ จากพันธุ์ไม้
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ฝึกออกแบบ
และสร้างสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทำ จากพันธุ์ไม้นั้น ๆ เรียนรู้อาชีพที่ต้องพึ่งพาอาศัยพันธุ์ไม้
การนำผลผลิตของพันธุ์ไม้มาทำเป็นอาหาร รวมทั้ง การถนอมอาหารที่ได้จากพันธุ์ไม้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ให้ผู้เรียนเรียนรู้คำศัพท์
และประโยคเกี่ยวกับส่วนประกอบ ของพันธุ์ไม้
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กำหนดพันธุ์ไม้ที่มีในสถานศึกษาเป็นไม้ประจำสถานศึกษา
จัดตั้งขมรม เพื่อสร้างจิตสำนึกในการสงวนและอนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากในท้องถิ่น
สรุป
แหล่งเรียนรู้
เป็นแหล่งหรือศูนย์รวมความรู้ที่ให้เข้าไปศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจ และความชำนาญ โดยที่ผู้เรียนสามารถที่จะเลือกแหล่งเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
แหล่งเรียนรู้อาจจะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แม้แต่บุคคล
สิ่งมีชีวิต ไม่มีชีวิต และแหล่งเรียนรู้อาจจะอยู่ในห้องเรียนในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียนก็ได้
สื่อการสอน (Instructional Media)
ในปัจจุบันนอกจากความรู้ทางวิชาการแล้ว
ครูผู้สอนวิชาทางเทคนิคจะต้องรู้จักนำเอาวิธีการและสื่อต่าง ๆ
มาใช้เพื่อให้การเรียนการสอนนั้น ๆ มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
ความหมายของสื่อการสอน (Instructional
Media)
สื่อ
(Media)
หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ถ่ายทอดหรือนำความรู้ในลักษณะต่าง ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับให้เข้าใจความหมายได้ตรงกันในการเรียนการสอนสื่อที่ใช้เป็นตัวกลางนำความรู้ในกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
(Instruction Media) ในทางการศึกษามีคำที่มีความหมายแนวเดียวกันกับสื่อการเรียนการสอน
เช่น สื่อการสอน สื่อการศึกษา อุปกรณ์ช่วยสอน
ในปัจจุบันนักการศึกษามักจะเรียกการนำสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ มารวมกันว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational) ซึ่งหมายถึง การนำเอาวัสดุ
อุปกรณ์ และวิธี การมาใช้ ร่วมกันอย่างมี ระบบในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิ
ภาพการเรียนการสอน
ประเภทและลักษณะของสื่อเพื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้สามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแตกต่างตามเกณฑ์ที่ใช้
ดังนี้
1. จำแนกตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภท คือ
1.1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
1.1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
1.2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์
1.3.
สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม
การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
1.4.
สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้
Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร
(Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide
Web)
2. จำแนกตามคุณสมบัติ Wilbure
Young ได้ 5 ประเภท คือ
2.1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2.1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2.2. โสตวัสดุ (Audio Materials) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
2.3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
2.4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น
เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริปเครื่องฉายสไลด์
2.5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities) เช่น นิทรรศการ การสาธิต
ทัศนศึกษา ฯลฯ
3.จำแนกตามรูปแบบ (Form)
Louis Shores ได้ 4 ประเภทคือ
3.1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
3.2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ (Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3.3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
3.4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง
3.1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
3.2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ (Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3.3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
3.4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง
ข้อดีของสื่อเพื่อการเรียนรู้
1.ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
2.สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
3.มีประสิทธิภาพ
เข้าถึงได้ง่าย
4.เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
5.กระตุ้นให้รู้เรียนเกิดความสนใจ
6.พัฒนาการเรียนรู้
ไม่ให้จำกัดแต่ในห้องเรียน
ข้อเสียของสื่อเพื่อการเรียนรู้
1.อาจมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีในบางพื้นที่
2.การออกแบบสื่อต้องอาศัยเวลาและความชำนาญเฉพาะด้าน
3.ขนาดของสื่อที่อาจไม่เหมาะสมกับพื้นที่การเรียนรู้
4.สื่อบางชนิดอาจชำรุดได้ง่าย
เช่น รูปภาพ สิ่งพิมพ์ต่างๆ
5.สื่อบางชนิดมีราคาแพง
เช่น สื่อคอมพิวเตอร์
6.ผู้รับสื่ออาจตีความหมายจากสื่อที่ได้รับผิดจากความหมายที่แท้จริง
ประโยชน์และความสำคัญของสื่อการสอน
1.
ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้มากและจดจำได้นาน
2.
ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
3.
ช่วยส่งเสริมการคิดเป็นและการแก้ปัญหาใจกระบวนการเรียนของผู้เรียน
4.
ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากสลับซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย
5.
ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเอกลักษณ์บุคคลไม่ว่าจะเป็นเด็กเก่งหรือเด็กเรียนช้า
6.
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนโดยประหยัดเวลาและแรงงาน
7.
ทำให้ครูสามารถปับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ
8.
ช่วยเพิ่มประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวางมากขึ้น
9.
ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดในการเรียนการสอนบางประการ
เช่น
9.1
ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
9.2
ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
9.3
ทำสิ่งเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงช้าให้เร็วขึ้น
9.4
ทำสิ่งที่ใหญ่ให้ย่อขนาดลง
9.5
ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายใหญ่ขึ้น
9.6
นำอดีตมาศึกษาได้
9.7
ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
9.8
นำสิ่งที่อยู่ใกล้หรือลี้ลับมาศึกษาได้
10.
ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จเร็วขึ้นและสอบได้คะแนนมากขึ้น
11.
ช่วยให้ความหมายของศัพท์เพิ่มขึ้น
12.
พัฒนาความคิดได้ต่อเนื่อง เช่น
ภาพยนตร์
13.
ถ้าใช้สื่อการสอนอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ ทั้งยังช่วยสร้างทัศนคติให้มั่นคงได้
14.
ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/165000
https://www.gotoknow.org/posts/231418
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194
https://www.gotoknow.org/posts/231418
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194
สรุป
สื่อการสอน
คือ สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ
หรือเป็นช่องทางที่ทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนเข้าใจตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี
สื่อที่ใช้ในการสอนอาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ เช่น คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนหลัก ๆ ที่ใช้ในวิชาคอมพิวเตอร์
และยังสามารถใช้เป็นสื่อการสอนในวิชาอื่น ๆ ได้เช่นกัน คำพูดและท่าทางของครูผู้สอนก็เป็นสื่อการสอนที่สำคัญโดยที่ครูสามารถถ่ายทอดออกมาทางกริยาท่าทางหรือคำพูดของครูไปสู่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่ครูสอนได้
วิธีการสอน
วิธีการสอน
หมายถึง กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน
ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนินการทางการสอนใด ๆ
เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรรยาย
ผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
เช่น การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม
1.วิธีการสอนแบบใช้คำถาม
(Questioning
Method)
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน
โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน
ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือการประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
3. ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ
4. ขั้นสรุปและประเมินผล
4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
ประโยชน์
1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4. ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5. ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
6. ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต
1. ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
3. ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ
4. ขั้นสรุปและประเมินผล
4.1 การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนก็ได้
4.2 การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
ประโยชน์
1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4. ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5. ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
6. ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต
2.วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
เป็นแนวคิดของทิศนา แขมมณี ที่กล่าวว่า ซิปปา (CIPPA)
เป็นหลักการซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ
ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย อาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ CIPPA
MODEL เป็นวิธีหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมในการสร้างคามรู้
การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนความรู้ การได้เคลื่อนไหวทางกาย
การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น ผู้สอนอาจใช้การสนทนาซักถามให้ผู้เรียนเล่าประสบการณ์เดิม หรือให้ผู้เรียนแสดงโครงความรู้เดิม (Graphic Organizer) ของตน
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูล หรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ ซึ่งผู้สอนอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้ในขั้นนี้ผู้สอนควรแนะนำแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนตลอดทั้งจัดเตรียมเอกสารสื่อต่าง ๆ
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล / ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล / ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนสร้างความหมายของข้อมูล / ประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยใช้กระบวนต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มในการอภิปราย และสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น ผู้สอนอาจใช้การสนทนาซักถามให้ผู้เรียนเล่าประสบการณ์เดิม หรือให้ผู้เรียนแสดงโครงความรู้เดิม (Graphic Organizer) ของตน
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูล หรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ ซึ่งผู้สอนอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้ในขั้นนี้ผู้สอนควรแนะนำแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนตลอดทั้งจัดเตรียมเอกสารสื่อต่าง ๆ
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล / ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล / ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนสร้างความหมายของข้อมูล / ประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยใช้กระบวนต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มในการอภิปราย และสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
ในขั้นนี้ ผู้สอนควรใช้กระบวนการต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรม เช่น
กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการสร้างลักษณะนิสัย กระบวนการทักษะทางสังคม ฯลฯ
เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน
ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย ผู้สอนควรให้ผู้เรียนสรุปประเด็นสำคัญประกอบด้วยมโนทัศน์หลัก และมโนทัศน์ย่อยของความรู้ทั้งหมด แล้วนำมาเรียบเรียงให้ได้สาระสำคัญครบถ้วน ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนจดเป็นโครงสร้างความรู้ จะช่วยให้จดจำข้อมูลได้ง่าย
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติและ / หรือการแสดงผลงาน
ขั้นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตน และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อมูลที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย ในขั้นนี้ผู้เรียนสามารถแสดงผลงานด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การอภิปราย การแสดงบทบาทสมมติ เรียงความ วาดภาพ ฯลฯ และอาจจัดให้มีการประเมินผลงานโดยมีเกณฑ์ที่เหมาะสม
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้น ๆ เป็นการให้โอกาสผู้เรียนใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
หลังจากประยุกต์ใช้ความรู้ อาจมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำความมารวม แสดงในตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้ เช่นกัน ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (Construction of Knowledge)
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน
ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย ผู้สอนควรให้ผู้เรียนสรุปประเด็นสำคัญประกอบด้วยมโนทัศน์หลัก และมโนทัศน์ย่อยของความรู้ทั้งหมด แล้วนำมาเรียบเรียงให้ได้สาระสำคัญครบถ้วน ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนจดเป็นโครงสร้างความรู้ จะช่วยให้จดจำข้อมูลได้ง่าย
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติและ / หรือการแสดงผลงาน
ขั้นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตน และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อมูลที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย ในขั้นนี้ผู้เรียนสามารถแสดงผลงานด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การอภิปราย การแสดงบทบาทสมมติ เรียงความ วาดภาพ ฯลฯ และอาจจัดให้มีการประเมินผลงานโดยมีเกณฑ์ที่เหมาะสม
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้น ๆ เป็นการให้โอกาสผู้เรียนใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
หลังจากประยุกต์ใช้ความรู้ อาจมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำความมารวม แสดงในตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้ เช่นกัน ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (Construction of Knowledge)
ขั้นที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (Application) จึงทำให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก CIPPA
ประโยชน์
1. ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้
2. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดที่หลากหลาย เป็นประสบการณ์ที่จะนำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต
3. ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับสมาชิกภายในกลุ่ม
ประโยชน์
1. ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้
2. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดที่หลากหลาย เป็นประสบการณ์ที่จะนำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต
3. ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับสมาชิกภายในกลุ่ม
3.
วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม
ตัวปัญหาจะเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้
และเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผล และการสืบค้นหาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกของตัวปัญหา
รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหา
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาจัดสถานการณ์ต่าง ๆ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มองเห็นปัญหากำหนดสิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียน และเกิดความสนใจที่จะค้นหาคำตอบ
2. ทำความเข้าใจกับปัญหา ผู้เรียนจะต้องสามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อกับปัญหาได้
3. ดำเนินการศึกษาค้นคว้า กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนและดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างหลากหลาย
4. สังเคราะห์ความรู้ ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อภิปรายผลและสังเคราะห์ความรู้ที่ได้มาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
5. สรุปและประเมินค่าของคำตอบ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสรุปสรุปผลงานของกลุ่มตนเอง ประเมินผลงานว่าข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสมเพียงใด โดยการตรวจสอบแนวคิดภายในกลุ่มของตนเองอย่างอิสระ ทุกกลุ่มร่วมกันสรุปองค์ความรู้ในภาพรวมของปัญหาอีกครั้ง
6. นำเสนอและประเมินผลงาน ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบองค์ความรู้และนำเสนอในรูปแบบผลงานที่หลากหลาย ผู้เรียนทุกคนและผู้เกี่ยวข้องกับปัญหา ร่วมกันประเมินผลงาน
ประโยชน์
มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน
4.
วิธีการสอนแบบนิรนัย (Deductive Method)
กระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ ทฤษฎี หลักเกณฑ์
ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน
จากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง
หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี หลักการ หลักเกณฑ์
กฎหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
หรืออาจเป็นหลักลักษณะให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น
การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และมีความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ทฤษฎี ข้อสรุปเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง
การสอนแบบนี้อาจกล่าวได้ว่า
เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา
เป็นการนำเข้าสูบทเรียนโดยการเสนอปัญหาหรือระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ
ปัญหาที่จะนำเสนอควรจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิตและเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
2.ขั้นแสดงและอธิบายทฤษฎี หลักการ เป็นการนำเอาทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปที่ต้องการสอนมาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทฤษฎี หลักการนั้น
3.ขั้นใช้ทฤษฎี หลักการ เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุป ที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้
4.ขั้นตรวจสอบและสรุป เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะตรวจสอบและสรุปทฤษฎี หลักการ กฎ
ข้อสรุปหรือนิยามที่ใช้ว่าถูกต้อง สมเหตุสมผลหรือไม่ โดยอาจปรึกษาผู้สอน หรือค้นคว้าจากตำราต่างๆ หรือจากการทดลอง
ข้อสรุปที่ได้พิสูจน์หรือตรวจสอบว่าเป็นจริง
จึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
5.ขั้นฝึกปฏิบัติ เมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุป พอสมควรแล้ว ผู้สอนเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆที่หลากหลาย
ประโยชน์
1. เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่าย รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
2. ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก
3. ฝึกให้ผู้เรียนรู้ได้นำเอาทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
4. ใช้ได้ผลดีในการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปศึกษาและคณิตศาสตร์
5. ฝึกให้ผู้เรียนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
5.
วิธีการสอนแบบอุปนัย (Inductive Method)
กระบวนการที่ผู้สอนจากรายละเอียดปลีกย่อย
หรือจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ หรือกฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป โดยการนำเอาตัวอย่างข้อมูล เหตุการณ์ สถานการณ์หรือปรากฏการณ์
ที่มีหลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษา สังเกต ทดลอง
เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์จนสามารถสรุปหลักการหรือกฎเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ขั้นเตรียมการ เป็นการเตรียมตัวผู้เรียน ทบทวนความรู้เดิมหรือปูพื้นฐานความรู้
2. ขั้นเสนอตัวอย่าง
เป็นขั้นที่ผู้สอนนำเสนอตัวอย่างข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์
หรือแนวคิดให้ผู้เรียนได้สังเกตลักษณะและคุณสมบัติของตัวอย่างเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบสรุปเป็นหลักการ แนวคิด หรือกฎเกณฑ์
ซึ่งการนำเสนอตัวอย่างควรเสนอหลายๆตัวอย่างให้มากพอที่ผู้เรียนสามารถสรุปเป็นหลักการหรือหลักเกณฑ์ต่างๆได้
3. ขั้นเปรียบเทียบ
เป็นขั้นที่ผู้เรียนทำการสังเกต ค้นคว้า วิเคราะห์ รวบรวม
เปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่าง
แยกแยะข้อแตกต่าง
มองเห็นความสัมพันธ์ในรายละเอียดที่เหมือนกัน ต่างกัน ในขั้นนี้หากตัวอย่างที่ให้แก่ผู้เรียนเป็นตัวอย่างที่ดี ครอบคลุมลักษณะหรือคุณสมบัติสำคัญๆของหลักการ
ทฤษฎีก็ย่อมจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและวิเคราะห์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว แต่หากผู้เรียนไม่ประสบความสำเร็จ
ผู้สอนอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติม
หรือใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดค้นต่อไป
โดยการตั้งคำถามกระตุ้นแต่ไม่ควรให้ในลักษณะบอกคำตอบ
เพราะวิธีสอนนี้มุ่งให้ผู้เรียนได้คิด
ทำความเข้าใจด้วยตนเอง
ควรให้ผู้เรียนได้ร่วมกันคิดวิเคราะห์เป็นกลุ่มย่อย
เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
โดยเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม
ในการอภิปรายกลุ่มอย่างทั่วถึง
และผู้สอนไม่ควรรีบร้อนหรือเร่งเร้าผู้เรียนจนเกินไป
4. ขั้นกฎเกณฑ์ เป็นการให้ผู้เรียนนำข้อสังเกตต่างๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นหลักการ
กฎเกณฑ์หรือนิยามด้วยตัวผู้เรียนเอง
5. ขั้นนำไปใช้
ในขั้นนี้ผู้สอนจะเตรียมตัวอย่างข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์หรือความคิดใหม่ๆ ที่หลากหลายมาให้ผู้เรียนใช้ในการฝึกความรู้
ข้อสรุปไปใช้ หรือ ผู้สอนอาจให้โอกาสผู้เรียนช่วยกันยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของผู้เรียนเองเปรียบเทียบก็ได้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนว่าหลักการที่ได้รัยนั้น
สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาและทำแบบฝึกหัดได้หรือไม่หรือเป็นการประเมินว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่นั่นเอง
ประโยชน์
1. เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำได้นาน
2. เป็นวิธีการที่ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการสังเกต คิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ตามหลักตรรกศาสตร์และหลักวิทยาศาสตร์
สรุปด้วยตนเองอย่างมีเหตุผลอันจะเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งใช้ได้ดีกับการวิชาวิทยาศาสตร์
3. เป็นวิธีการที่ผู้เรียนได้ทั้งเนื้อหาความรู้ และกระบวนการซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ได้
6.
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry
Process)
เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้สืบค้น สืบเสาะ สำรวจ ตรวจสอบ และค้นคว้าด้วยวิธีการต่าง ๆ จนเกิดความเข้าใจและรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ขั้นสร้างความสนใจ
(Engagement)
เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนโดยนำเรื่องที่สนใจ
อาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เรียนมาแล้ว
เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม
เป็นแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
2. ขั้นสำรวจและค้นหา
(Exploration)
เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจ มีการกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ
ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อสนเทศหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(Explanation) เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอ จึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์
แปลผล สรุปผล นำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป
สร้างแบบจำลองหรือรูปวาด
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมแนวคิดที่ได้จะช่วยเชื่อมโยงกับเรื่องต่าง
ๆ ทำให้เกิดความรู้กว้างขึ้น
5. ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากนั้นจะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ
ประโยชน์
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหา หลักและหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้
สรุป
วิธีการสอนเป็นความสามารถในการสอน
ซึ่งวิธีการสอนก็มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับว่าครูแต่ละคนจะนำวิธีการสอนแบบไหนมาสอนนักเรียน
ในการเลือกวิธีการสอนก็ต้องดูผู้เรียนด้วยว่าควรจะนำวิธีการสอนใดมาสอน วิธีการสอนของครูแต่ละคนจะไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ผู้ที่เป็นครูควรได้มีการฝึกฝนเพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น