Knowledge Management-KM (การจัดการความรู้)
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
เป้าหมายของการจัดการความรู้ 4 ประการ
1.บรรลุเป้าหมายของงาน
2.บรรลุเป้าหมายการพัฒนา
3.บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรการเรียนรู้
4.บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
1.บรรลุเป้าหมายของงาน
2.บรรลุเป้าหมายการพัฒนา
3.บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรการเรียนรู้
4.บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
ความรู้ มี 2 ประเภท
1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคนหรือความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2) ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
การจัดการความรูทั้ง ๒ ประเภทนี้มีวิธีที่แตกตางกัน
การจัดการ “ความรู้ที่ฝังอยู่ในคนหรือความรูเดนชัด” จะเนนไปที่การเขาถึงแหลงความรู ตรวจสอบและตีความได เมื่อนําไปใชแลวเกิดความรูใหมก็นํามาสรุปไวเพื่อใชอางอิงหรือใหผูอื่นเขาถึงไดตอไป (ดูวงจรทางซายในรูป)
การจัดการ “ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรูซอนเรน” นั้นจะเนนไปที่การจัดเวทีเพื่อใหมีการแบงปนความรูที่อยูในตัวผูปฏิบัติทําใหเกิดการเรียนรูรวมกันอันนําไปสูการสรางความรูใหมที่แตละคนสามารถนําไปใชในการปฏิบัติงานไดตอไป (ดูวงจรทางขวาในรูป)
1.การบ่งชี้ความรู้ คือ การพิจารณาองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมายขององค์กร
และพิจารณาว่าองค์กรมีองค์ความรู้นี้หรือยัง อยู่ในรูปแบบใด
หรืออยู่ที่บุคคลใดความรู้อยู่ที่ใคร อยู่ในรูปแบบอะไร จะเอามาเก็บรวมกันได้อย่างไร
ที่มา : http://www.thaiall.com/km/indexo.html
http://network.moph.go.th/km_ict/?p=392
2.การสร้างและแสวงหาความรู้ คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่
หรือแสวงหาความรู้จากภายนอก
หากองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กรนั้นยังไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ รวมถึงการรักษาความรู้เก่า
และการกำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้ออกจากแหล่งรวมได้อย่างไร
3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคตจะทำให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์ได้อย่างไน
4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงรูปแบบ
เนื้อหาเอกสารหรือองค์ความรู้ให้เป็นสมบูรณ์ มีมาตรฐาน และใช้ภาษาเดียวกันเรานำความรู้มาใช้งานได้ง่ายหรือไม่
5.การเข้าถึงความรู้ คือ การทำให้ผู้ใช้ความรู้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่ต้องการได้ง่ายสะดวก
โดยอาจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์มาช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกมีการแบ่งบันความรู้ให้กันหรือไม่
6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำความรู้เข้าสู่เวทีแลกเปลี่ยน ทำได้หลายวิธีกรณีเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งอาจจัดทำเป็น
เอกสาร ฐานความรู้ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ
7.การเรียนรู้ คือ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กร
http://network.moph.go.th/km_ict/?p=392
สรุป
Knowledge Management(KM) หรือ การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร
ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้บุคลากรทุกคน
สามารถเข้าถึงความรู้ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้
และนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้เกิดการพัฒนาฐานความรู้ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง
นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ประเภทเทคนิควิธีการ
หรือกิจกรรม เช่น การให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง โดยการสร้างสื่อการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้นำไปศึกษา เช่น ห้องเรียนกลับด้าน
ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
ห้องเรียนกลับด้าน หรือ Flipped Classroom เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นจากประสบการณ์การสอนในชั้นเรียนของ Jonathan
Bergmann และ Aaron Sams ซึ่งพวกเขาเป็นครูวิชาเคมีของโรงเรียน Woodland
Park High School รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกาครู 2 ท่านนี้ได้พบว่าการเรียนของนักเรียนหลาย ๆ
คนไม่สามารถเข้ามาเรียนในชั้นเรียนได้ตามเวลาอันเนื่องมาจากสาเหตุหลาย ๆ ประการ
เช่น นักเรียนที่เป็นนักกีฬา นักเรียนที่ต้องทำงานนอกเวลา
หรือแม้กระทั้งเนื้อหาวิชาที่ใช้เวลาในการทำความเข้าใจมาก ๆ
จนไม่สามารถจัดได้หมดในชั่วโมงเรียนดังนั้น Jonathan และ Aaron จึงมีแนวคิดจาก
1. พิจารณาเลือกเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้กับนักเรียน
และนักเรียนสามารถนำขึ้นมาเรียนได้ขณะเดินทาง เช่น คอมพิวเตอร์,แท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน
2. โดยมีกิจกรรมต่างๆ เป็นตัวเชื่อม เช่น อีเมล์จากนักเรียนที่มีข้อสงสัย , อีเมล์จากครูผู้สอนตั้งคำถามไปยังนักเรียน, บทความหรือเนื้อหาต่างๆ
เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่อยู่บนเว็บไซด์
เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน
เป็นการนำสิ่งที่เดิมเคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน
และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน ด้าน ครูจะแจกสื่อให้เด็กไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้าน
หรืออาจให้เด็กไปดูสื่ออย่างยูทูบ เมื่อมาเข้าชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้น
นักเรียนจะซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ จากนั้นก็ลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยมีครูคอยให้คำแนะนำตอบข้อสงสัย
ที่มา : Tanakorn
Chaiyasit
ความแตกต่างจากการสอนแบบเดิมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน
แบบเดิม แบบห้องเรียนกลับด้าน
มุมมองของนักเรียน มุมมองของนักเรียน
-ตามไม่ทัน -มีเวลามากพอที่จะดูวีดีโอ
-ไม่เข้าใจก็ไม่กล้าถาม -ปรึกษากับเพื่อนหรือดูครูออนไลน์ได้
-ครูไม่มีช่องว่างให้ถาม -ไม่มีการบ้าน ไม่ต้องลอกการบ้าน
-เนื้อหาเยอะและมีเวลาที่จำกัด -ทำการบ้าน(กิจกรรม)ในห้องเรียนก็ไม่เครียด
-เมื่อกลับมาบ้านทำการบ้านไม่ได้ มีครู มีเพื่อน ให้คำปรึกษาตลอดเวลา
เลยต้องลอกเพื่อนตลอด -ได้ลงมือปฏิบัติ
แบบเดิม แบบห้องเรียนกลับด้าน
มุมมองของครู มุมมองของครู
-สอนเหมือนปกติ อัดเนื้อหาอย่างเดียว -ค่อนข้างหนัก
มีเวลาน้อย -ต้องเตรียมอัดวีดีโอการสอนล่วงหน้า
-มองดูเด็ก ๆ ในห้องเรียน ก้ไม่มีใครสงสัย -กลางคืนก็คอยให้คำปรึกษาออนไลน์
-การบ้านที่ส่งมาก็ทำได้เหมือนกันหมด -ต้องมีเวลาออกแบบและจัดเตรียม
ตรวจง่าย กิจกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหา
-วัดความรู้ตอนสอบ -ครูต้องทบทวนความรู้พื้นฐานและเตรียม
พร้อมสำหรับให้คำแนะนำเด็ก ๆ
ที่มา : http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf
มุมมองของนักเรียน มุมมองของนักเรียน
-ตามไม่ทัน -มีเวลามากพอที่จะดูวีดีโอ
-ไม่เข้าใจก็ไม่กล้าถาม -ปรึกษากับเพื่อนหรือดูครูออนไลน์ได้
-ครูไม่มีช่องว่างให้ถาม -ไม่มีการบ้าน ไม่ต้องลอกการบ้าน
-เนื้อหาเยอะและมีเวลาที่จำกัด -ทำการบ้าน(กิจกรรม)ในห้องเรียนก็ไม่เครียด
-เมื่อกลับมาบ้านทำการบ้านไม่ได้ มีครู มีเพื่อน ให้คำปรึกษาตลอดเวลา
เลยต้องลอกเพื่อนตลอด -ได้ลงมือปฏิบัติ
แบบเดิม แบบห้องเรียนกลับด้าน
มุมมองของครู มุมมองของครู
-สอนเหมือนปกติ อัดเนื้อหาอย่างเดียว -ค่อนข้างหนัก
มีเวลาน้อย -ต้องเตรียมอัดวีดีโอการสอนล่วงหน้า
-มองดูเด็ก ๆ ในห้องเรียน ก้ไม่มีใครสงสัย -กลางคืนก็คอยให้คำปรึกษาออนไลน์
-การบ้านที่ส่งมาก็ทำได้เหมือนกันหมด -ต้องมีเวลาออกแบบและจัดเตรียม
ตรวจง่าย กิจกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหา
-วัดความรู้ตอนสอบ -ครูต้องทบทวนความรู้พื้นฐานและเตรียม
พร้อมสำหรับให้คำแนะนำเด็ก ๆ
ที่มา : http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf
สรุป
ห้องเรียนกลับด้าน หรือ Flipped Classroom คือ "learn at home,Homework at classroom" (เรียนที่บ้าน ทำการบ้านทำการบ้านที่โรงเรียน)
การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน เป็นกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งเปลี่ยนจากการใช้ช่วงเวลาของการบรรยายเนื้อหา ในห้องเรียนเป็นการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ครูมีเวลาชี้แนะและช่วยนักเรียนสร้างสรรค์แนวคิด แก้โจทย์ปัญหา และประยุกต์ใช้จริง หลักในการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา บวกกับการจัดกิจกรรมในห้องเรียน ผู้เรียนสามารถศึกษาก่อนเรียนได้ และใช้เวลาในห้องเรียนทำกิจกรรมที่ครูออกแบบไว้ และห้องเรียนกลับด้าน เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เข้าใกล้การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากขึ้น
การวิจัยในชั้นเรียน
(Classroom Action Research: CAR)
การวิจัย (Research)
หมายถึง กระบวนการค้นคว้าหาข้อมูล
หาคำตอบ การแก้ปัญหา โดยวิธีการที่เป็นระบบ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์
หรือวิธีการที่เชื่อถือได้
การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom
Action Research)
การวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญต่อวงการวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากครูจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน การจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น
การพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน การเพิ่มสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทดั้งเดิมของครูที่มีความเชี่ยวชาญ
และสนใจเรื่องการสอนโดยเน้นเนื้อหาสาระของบทเรียน จึงทุ่มเทการศึกษา ค้นคว้า
หาข้อมูล ทฤษฎี ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
มากกว่าการศึกษาวิธีการพัฒนาปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผลงานของครูอาจารย์ส่วนใหญ่จึงเป็นผลงานหนังสือ ตำรา
บทความหรือเอกสารทางวิชาการมากกว่าผลงานวิจัย
หลักการของการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียน
มีหลักและวิธีการที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจดังนี้
1. งานวิจัยเป็นงานเสริมงานหลัก โดยงานหลักคือการสอนของผู้สอน
เพราะงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จะต้องเกิดควบคู่กับการเรียนการสอนเสมอ
2. เป็นการทำวิจัยตามสภาพความจริง
ปัญหาเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และต้องการแก้ไข
3. เป็นการสอดแทรกให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
4. งานวิจัยที่ทำนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อแก้ปัญหา
หรือพัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์
ผู้ทำต้องนึกถึงประโยชน์หรือคุณค่าต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
5. การทำวิจัยเป็นสิ่งที่ตระหนักรู้
โดยอาจารย์ผู้สอนเอง ด้วยความรู้สึกห่วงใยต่อนักศึกษา
ปรารถนาที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
6. สิ่งสำคัญประการสุดท้าย
และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน คือ
งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จะสำเร็จมิใช่อยู่ที่ความคิดอย่างเดียว แต่อยู่ที่
การลงมือทำ สุดท้ายอาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
คุณภาพการเรียนการสอนที่ต่อเนื่องจะเกิดขึ้นได้ยาก
ถ้าขาดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ขาดการดำเนินการโดยใช้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
การวิจัยถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนของครู
อาจารย์เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมขึ้น
และเป็นการดำเนินการเชิงวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของครู
อาจารย์อย่างแท้จริง ซึ่งผลก็คือ คุณภาพของผู้เรียนนั่นเอง
กระบวนการขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน
กระบวนการขั้นตอนในการทำวิจัยในชั้นเรียน มี 3
ส่วน คือส่วนของขั้นตอนการวิจัย
ส่วนของการออกแบบการวิจัยและองค์ประกอบของรายงานการวิจัย
และส่วนของการรายงานการวิจัยนี้ต่อผลงานของครูผู้สอนและโดยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนในชั้นเรียนสามารถทำได้หลายวิธีการ
ซึ่งทุกวิธีการล้วนอยู่บนพื้นฐานกระบวนการ ซึ่งจะขอนำเสนอตามลำดับดังนี้
1.ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนเฉพาะของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เป็น 7 ขั้น ดังนี้
1.1 กำหนดปัญหา
-ประเด็นปัญหา
1.2 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
-บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหา
1.3 วางแผนปฏิบัติ
-กำหนดทางเลือกหลากหลาย
1.4 ปฏิบัติตามแผน
1.5 สังเกตผล
1.6 สรุปผล
1.7 สะท้อนผล
2.การออกแบบการวิจัยของครู การออกแบบการวิจัยของครู จำแนกได้ 3 กลุ่ม ใหญ่ คือ
2.1 วิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหา
สถานการณ์ ข้อเท็จจริง
การวิจัยลักษณะนี้เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในระดับชั้นเรียน เช่น ข้อมูลส่วนตัว
ความคิดเห็น ความรู้สึกผู้เรียน หรืออธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรบางตัวที่สนใจ ตัวอย่างเช่น ความฉลาดทางอารมณ์กับความรับผิดชอบ
2.2 การวิจัยเชิงทดลองเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนา เช่น การวิจัยพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทวิธีการสอน และสื่อต่าง ๆ
ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่การวิจัยเชิงวิชาการในลักษณะการวิจัยและพัฒนาได้
(Research and Development)
2.3 การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
(Classroom Action Research) ดำเนินการโดยครูเพื่อแก้ปัญหาในกระบวนการปฏิบัติ (การสอน)
ซึ่งต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อนำผลไปใช้ทันที มีการดำเนินการเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน
คือ วางแผน (Plan) นำแผนไปปฏิบัติ (Act) สังเกต/เก็บข้อมูล (Observe) และสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุง (Reflect) และทำซ้ำขั้นตอนแรก
จนกว่าการแก้ปัญหาจะบรรลุผลสำเร็จ มีข้อสังเกตการวิจัยในกลุ่มนี้พบว่า
สอดคล้องกับกระบวนการปฏิบัติงานของครูมากที่สุด
1.ขั้นวางแผน (Plan)
การวางแผนการวิจัยปฏิบัติการ จะเกิดขึ้นหลังจกาการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน
ซึ่งจะนำไปสู่การตั้งคำถามวิจัย โดยขั้นวางแผนประกอบด้วย การวางแผนกิจกรรม
การวางแผนวิธีการหรือเครื่องมือที่จะใช้พัฒนา แหล่งข้อมูลที่ต้องการ ผู้รับผิดชอบกิจกรรมและระยะเวลาที่จะปฏิบัติ
2.ขั้นปฏิบัติการ (Act)
เป็นการนำแผนที่วางไว้มาปฏิบัติจริง
3.ขั้นสังเกต/เก็บข้อมูล (Observe)
เป็นขั้นตอนของการแสดงวิธีการสังเกตหรือเก็บข้อมูล และประเมินผลการปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้
4.ขั้นสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุง (Reflect)
เป็นขั้นตอนของการตีความหมายของข้อมูลหรือแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ผลจะกระทำทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันอภิปรายที่เกิดขึ้นร่วมกัน
3.การเขียนรายงานการวิจัย
รายงานการวิจัยเป็นการนำเสนอความรู้ ข้อค้นพบออกสู่สาธารณชน ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างแล้ว ยังแสดงถึงความรู้ความสามารถเชิงวิชาการของครู โดยทั่วไปพบว่า มีการเขียน 2 รูปแบบ คือ
3.1 รายงานวิจัยแบบไม่เป็นทางการ
ซึ่งเหมาะกับครูนักวิจัยในระยะเริ่มต้นที่ยังมีทักษะในการวิจัยไม่มาก
มุ่งเสนอข้อค้นพบตามสภาพจริงที่เกิดขึ้น
มากกว่าการยึดรูปแบบการเขียนรายงานวิจัยที่เป็นสากล ไม่เน้นคำศัพท์ทางวิชาการ
ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ตัวแปรในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจัย
3.2 รายงานวิจัยแบบเป็นทางการ มีลักษณะเหมือนรายงานวิจัยเชิงวิชาการทั่ว ๆ ไป ที่ใช้กันในหมู่นักวิจัย มักนำเสนอในรูป 5 บท คือ
บทที่ 1 บทนำ
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย
- วัตถุประสงค์การวิจัย
- ขอบเขตการวิจัย
- กลุ่มประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
- เนื้อหา
- ตัวแปร
- ระยะเวลา
- ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
- แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
- กรอบแนวคิดในการวิจัย
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
- รูปแบบการวิจัย
- ขั้นตอนการดำเนินการ
- เครื่องมือการวิจัย
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
- วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
- สรุปผลการวิจัย
- อภิปรายผลการวิจัย
- ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
โดยกรอบของการเขียนรายงานการวิจัยนี้นี้จะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกับการเขียนรายงานการวิจัยในเชิงวิชาการทั่วไป โดยมีองค์ประกอบหลักจำนวน 5 บท แต่ความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียนนั้นจะอยู่ที่เป้าหมายของการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
สรุป
การวิจัยในชั้นเรียน คือการที่ครู ทำการแก้ปัญหานักเรียนบางคนที่อ่อนบางเรื่อง เพื่อให้เรียนทันเพื่อน หรือพัฒนานักเรียนบางคนที่เก่งในบางเรื่องเพื่อให้ถึงศักยภาพสูงสุดของเขา การวิจัยทำเพื่อพัฒนาผู้เรียน ไม่ใช่เพื่อขอผลงานของผู้ทำวิจัย แต่เป็นการพัฒนาผู้เรียนโดยการแก้ปัญหาให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อนให้สามารถเรียนทันเพื่อน หรือเป็นการเสริมให้ผู้เรียนที่เรียนเก่งอยู่แล้วให้เก่งตามศักยภาพของเขา
การวิจัยในชั้นเรียน
(Classroom Action Research: CAR)
การวิจัย (Research)
หมายถึง กระบวนการค้นคว้าหาข้อมูล
หาคำตอบ การแก้ปัญหา โดยวิธีการที่เป็นระบบ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์
หรือวิธีการที่เชื่อถือได้
การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom
Action Research)
การวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญต่อวงการวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากครูจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน การจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น
การพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน การเพิ่มสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการ เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทดั้งเดิมของครูที่มีความเชี่ยวชาญ
และสนใจเรื่องการสอนโดยเน้นเนื้อหาสาระของบทเรียน จึงทุ่มเทการศึกษา ค้นคว้า
หาข้อมูล ทฤษฎี ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
มากกว่าการศึกษาวิธีการพัฒนาปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผลงานของครูอาจารย์ส่วนใหญ่จึงเป็นผลงานหนังสือ ตำรา
บทความหรือเอกสารทางวิชาการมากกว่าผลงานวิจัย
หลักการของการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียน
มีหลักและวิธีการที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจดังนี้
1. งานวิจัยเป็นงานเสริมงานหลัก โดยงานหลักคือการสอนของผู้สอน
เพราะงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จะต้องเกิดควบคู่กับการเรียนการสอนเสมอ
2. เป็นการทำวิจัยตามสภาพความจริง
ปัญหาเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และต้องการแก้ไข
3. เป็นการสอดแทรกให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
4. งานวิจัยที่ทำนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อแก้ปัญหา
หรือพัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์
ผู้ทำต้องนึกถึงประโยชน์หรือคุณค่าต่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
5. การทำวิจัยเป็นสิ่งที่ตระหนักรู้
โดยอาจารย์ผู้สอนเอง ด้วยความรู้สึกห่วงใยต่อนักศึกษา
ปรารถนาที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
6. สิ่งสำคัญประการสุดท้าย
และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน คือ
งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้จะสำเร็จมิใช่อยู่ที่ความคิดอย่างเดียว แต่อยู่ที่
การลงมือทำ สุดท้ายอาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
คุณภาพการเรียนการสอนที่ต่อเนื่องจะเกิดขึ้นได้ยาก
ถ้าขาดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ขาดการดำเนินการโดยใช้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
การวิจัยถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดในการพัฒนาการเรียนการสอนของครู
อาจารย์เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมขึ้น
และเป็นการดำเนินการเชิงวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของครู
อาจารย์อย่างแท้จริง ซึ่งผลก็คือ คุณภาพของผู้เรียนนั่นเอง
กระบวนการขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน
ขั้นตอนเฉพาะของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เป็น 7 ขั้น ดังนี้
รายงานการวิจัยเป็นการนำเสนอความรู้ ข้อค้นพบออกสู่สาธารณชน ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างแล้ว ยังแสดงถึงความรู้ความสามารถเชิงวิชาการของครู โดยทั่วไปพบว่า มีการเขียน 2 รูปแบบ คือ
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย
- วัตถุประสงค์การวิจัย
- ขอบเขตการวิจัย
- กลุ่มประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
- เนื้อหา
- ตัวแปร
- ระยะเวลา
- ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
- แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
- กรอบแนวคิดในการวิจัย
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
- รูปแบบการวิจัย
- ขั้นตอนการดำเนินการ
- เครื่องมือการวิจัย
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
- วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
- สรุปผลการวิจัย
- อภิปรายผลการวิจัย
- ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
โดยกรอบของการเขียนรายงานการวิจัยนี้นี้จะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกับการเขียนรายงานการวิจัยในเชิงวิชาการทั่วไป โดยมีองค์ประกอบหลักจำนวน 5 บท แต่ความแตกต่างของการวิจัยในชั้นเรียนนั้นจะอยู่ที่เป้าหมายของการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น