วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 5 การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education)



ความหมายของ การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education)
          การศึกษาของประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นการศึกษาที่มุ่ง ใส่เนื้อหาให้ผู้เรียน (Input-based Education) เราคิดว่านักเรียนนักศึกษาควรจะต้องมีความรู้อะไร เราก็จะ ใส่ความรู้ (Input) เข้าไป โดย วิธีการ บรรยายให้ฟัง และบังคับให้จำด้วยการ สอบการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาไทยจึงเป็นหรือ การเรียนรู้จากการฟังบรรยาย (Lecture-based Learning) โดยอาจารย์เป็นศูนย์กลางของการศึกษา (Teacher-centered) การศึกษาเช่นนี้มุ่งการ จ าไม่ได้มุ่งที่การ คิดเพราะถ้าหากว่า คิดแล้วไม่เหมือนอาจารย์และตอบข้อสอบต่างจากที่อาจารย์สอนก็จะไม่ได้คะแนน สิ่งที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่า สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นทั้งหมดในโลกใบนี้ ก็เพราะมนุษย์มีความสามารถในการ คิดเมื่อคิดเป็นก็วิเคราะห์ ปัญหาได้หาสาเหตุได้และหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ แต่เรากลับให้นักเรียนนักศึกษาของเรา จำโดยไม่ มุ่งให้ คิดการศึกษาไทยจึงไม่สามารถสร้าง คนที่มีความเข้มแข็งให้กับสังคมได้ต่อให้มีความรู้ก็ใช้ ความรู้ไม่เป็น และมักจะใช้ความรู้โดยไม่รับผิดชอบ
          บางทีปัญหาทั้งหมดของเราอาจจะมีสาเหตุง่าย ๆ คือ เราเองก็ลืม คิดไปว่า เป้าหมายหรือผลลัพธ์ของการศึกษาคืออะไร การศึกษาไทยจึงไม่ได้มุ่งผลลัพธ์ แต่มุ่งใส่ความรู้ โดยครูและอาจารย์เป็น ศูนย์กลาง ถ้าจะแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศไทย จะต้องเปลี่ยนจากการศึกษาที่มุ่ง การใส่ความรู้ (Input-based Education) ให้เป็นการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) โดยผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง (Student-centered) และครูอาจารย์เป็นผู้จัดกระบวนการ เรียนรู้และถ้าเข้าใจความข้อนี้ การ บรรยายก็จะเป็นเพียง กิจกรรมหรือวิธีการหนึ่งเท่านั้นในการพาผู้เรียนไปสู่ ผลลัพธ์การเรียนรู้ก็จะ เปลี่ยนจากการเรียนรู้โดยการฟังบรรยาย (Lecture-based Learning) เป็นการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรม หรือการลงมือปฏิบัติ (Activity-based Learning) ซึ่งมีวิธีการและเทคนิคต่างๆ มากมาย โดยวิธีการที่สำคัญ ที่สุดก็คือ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้” (Problem-based Learning) “การท าโครงงานเป็นฐานใน การเรียนรู้” (Project-based Learning) และ การเรียนรู้โดยการบริการสังคม” (Service Learning) ซึ่ง ล้วนแต่เป็น Activity-based Learning หรือ Active Learning ที่เป็นวิธีการเรียนรู้ของ Outcome-based Education ทั้งสิ้น


หลักการของ การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์และ การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
เราสามารถสรุปหลักการพื้นฐานของ การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์” (Outcome-based Education) ที่ เป็น การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน” (Activity-based Learning) ได้ดังต่อไปนี้
          ๑. การศึกษาที่มุ่ง ผลลัพธ์” (Outcome-based Education) ไม่ใช่การศึกษาที่มุ่ง ใส่ความรู้” (Input based Education) โดยก่อนอื่นผู้สอนจะตั้ง ผลลัพธ์ที่ผู้เรียนควรจะได้หรือควรจะเป็นหลังจาก เสร็จสิ้นการเรียน จากนั้นจึงออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อมุ่งไปสู่ ผลลัพธ์นั้น ขณะที่ การศึกษาที่มุ่ง ใส่ความรู้จะคู่กับการเรียนรู้โดยการฟังบรรยาย ส่วนการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์จึงคู่กันกับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม (Activity-based Learning)
          ๒. ผู้ที่จะพัฒนาผู้เรียน ไม่ใช่ผู้สอน แต่คือตัวผู้เรียนเอง โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็น วิทยากร กระบวนการ” (facilitator) ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนคิดได้ และ เรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้เรียนจึงเป็น ศูนย์กลางของการเรียน (student-centered)
          ๓. การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์จึงเป็น แนวระนาบมิใช่ แนวดิ่งที่อาจารย์มี อำนาจและเป็นผู้ผูกขาดความรู้โดยผู้เรียนมี หน้าที่ต้องจดต้องจำต้องทำตามที่อาจารย์บอก และวัดผลว่าถ้าใคร จำและตอบตามที่อาจารย์ สอนได้มากเท่าไร ยิ่งได้คะแนนดีมากเท่านั้น หากเป็นการเรียนการสอนแนวระนาบที่ครูหรืออาจารย์จะเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนนักศึกษา และเรียนรู้จากนักเรียนนักศึกษา ได้ด้วย
          ๔. การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ไม่ใช้วิธีการเรียนรู้โดยการฟังบรรยาย  (Lecture-based Learning) แต่ใช้ วิธีการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรม และการลงมือปฏิบัติ (Activity-based Learning) ซึ่งได้แก่ การ เรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง (Problem-based Learning) การเรียนรู้โดยการทำโครงงาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) ซึ่งก็คือการให้ โครงงานที่ทำเป็นโครงงานที่ไปบริการสังคมหรือชุมชน ซึ่งจะทำให้ได้เรียนรู้เรื่องการใช้ความรู้โดย รับผิดชอบต่อสังคมด้วย 
         ๕. ต้องมีการให้ผู้เรียนได้สรุปบทเรียนการเรียนรู้ (reflection) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และต้องมีการประเมินผล หรือประเมิน ผลลัพธ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ เกิดการพัฒนาตนเอง และเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนได้ทราบว่าวิธีการที่ใช้นั้นได้ ผลหรือไม่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ ผลน้อย ก็ต้องปรับวิธีการให้ได้ผลมากขึ้นในครั้งต่อไป 



Concept Idea Øระดับคุณครู
-ใช้ผลการเรียนรู้เป็นตัวกำหนดกระบวนการที่เหมาะสมในการพัฒนานักเรียน
-กระบวนการ (Process) ถือเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ
-การผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพ ขึ้นอยู่กับการกำหนด LO (Learning Outcome)

ลักษณะการเรียนรู้ ที่ สพฐ. กำหนดให้มี 3 ด้าน
-พุทธิพิสัย
-จิตพิสัย
-ทักษะพิสัย
สมรรถนะ 5 ด้าน ที่ต้องประเมิน
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ความสามารถในการคิด
ความสามารถในการแก้ปัญหา
World is changing very fast
- โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งการแข่งขัน
- ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม จึงต้องหาเทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ
- ในอดีตเราได้ยินคำว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็ก Big beats small”
- เวลาเปลี่ยนโลกเปลี่ยน ควรตระหนักถึงคำว่าคิดให้เร็ว ทำให้ช้า “Big beats slow”

ทักษะที่สำคัญใน ศตวรรษที่ 21





     1 ทักษะการเรียน
        - นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ 
        - การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา
        - การสื่อสารและการร่วมมือกัน

     2 ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี
        - การอ่านออกเขียนได้ด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และ ICT

     3 ทักษะการใช้ชีวิต
       - ทักษะที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ ริเริ่มและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 
       - ทักษะทางสังคมและก้าวข้ามวัฒนธรรม 
       - มีความรับผิดชอบ 
       - สามารถผลิตสร้างสรรค์งานได้ 

Thinking Development
Analytical Thinking (การคิดวิเคราะห์)
System Thinking (การคิดเป็นระบบ)
Critical Thinking (การคิดสังเคราะห์)
Reflective Thinking (การสะท้อนคิด)
          Logical Thinking (การคิดแบบตรรกะ)
 Analogical Thinking (การคิดเชิงเปรียบเทียบ)
Practical Thinking (การคิดแบบลงมือปฏิบัติ)
Deliberative Thinking (การคิดแบบบูรณาการ)
Creative Thinking (การคิดสร้างสรรค์)
Team Thinking (การคิดเป็นทีม)

การเข้าใจ
     ปัจจัยสู่ความสำเร็จสู่กระบวนการเรียนรู้
         - Interest  ความสนใจของนักเรียน
         - Intention  ความตั้งใจของนักเรียนและคุณครู
         - Teaching  วิธีการสอนของคุณครู
         - Aptitude  ความสามารถของนักเรียน
         - Experience  ประสบการณ์สอนของครู
         - Reponsibility  ความรับผิดชอบของครู
         - Difficulty  ความยากง่ายของวิชา

การเข้าถึง
     - ผู้สอนต้องเข้าถึงผู้เรียน
     - ผู้สอนต้องมีวิทยาการสอน
     - ต้องเข้าใจลักษณะเด็กสมัยใหม่

พัฒนา
     - สอนเป็น นำเสนอเนื้อหาเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
     - ใช้และใฝ่หาเทคนิคเพื่อกระตุ้นผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
     - มีความคิดสร้างสรรค์
     - ประเมินตนเอง

Maslow’s hierarchy of needs

    
           
-ต้องการเข้าใจและรักตนเอง

-ต้องการได้รับการยกย่อง
-ต้องการความรัก และเป็นที่ยอมรับ
-ต้องการความมั่นคง
-ต้องการทางกาย  



ตัวอย่าง
1.อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย
2.อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส
3.อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย
4.อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยชน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก
5.อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา
6.อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย
7.อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
8.อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
9.อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
10.อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้

สรุป

          การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์  ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและแนวทางของตัวผู้สอนเอง สิ่งที่ต้องทำคือ การลงมือทำซึ่งเปรียบเหมือนกับการทำอาหาร ที่ไม่มีใครทำอาหารเป็นมาตั้งแต่เกิด ในตอนแรกที่เรายังทำอาหารไม่เป็น ก็ต้องเปิด ตำราทำอาหารและทำตามขั้นตอนที่เขียนไว้ในตำรา โดยพ่อครัวหรือแม่ครัวสามารถ ปรุงให้เหมาะสมและถูกปากผู้รับประทานได้ เมื่อทำไปเรื่อย ๆ แล้วก็จะค่อย ๆ ทำอาหารเป็น จึงเกิดการเรียนรู้และ ทักษะ จนกระทั่งทำอาหารข้าวเป็นด้วยตนเอง ไม่ต้องเปิดตำราอีกต่อไป และสามารถที่จะ ออกแบบหรือ คิดค้นตำราใหม่ ๆ ด้วยตนเองได้ การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ก็เป็นเรื่องทำนองเดียวกัน สำคัญที่สุดคือผู้สอนต้องยึดหลักการสำคัญที่สุดคือ ผู้สอนเป็น วิทยากรกระบวนการที่จัดกระบวนการ เรียนรู้ใน แนวระนาบให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยผู้สอนจะไม่ใช่แต่เพียง สอนแต่จะเรียนรู้ร่วมกันไปกับผู้เรียน และจะเกิดความเชี่ยวชาญชำนาญการในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามแนวทางการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ขึ้นมาในที่สุด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น